ส่วนตัวเวลาทำสเปก จะมีปัญหากับวัสดุไม่กี่ตัวแต่กันซึมนี่เป็นที่หนึ่งในความสับสน และในที่สุดเราก็แยกแยะกันซึมได้ดังนี้
กันซึม(จำแนกโดยวิธีการใช้งาน)แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. ประเภทสารผสมเพิ่ม (Waterproof Admixture) ใช้ผสมลงในระหว่างการผสมคอนกรีต
2. ประเภทซีเมนต์เบส (Cementitious Waterproofing ) ใช้สำหรับทาหรือฉาบบนผิวคอนกรีต ผิวหน้าที่ได้จะเป็นตัวป้องกันการรั่วซึม(Protective Layer ) มี 2 ชนิดคือ
ชนิดส่วนผสมเดียว จะเป็นผงซีเมนต์กันซึมอย่างเดียวนำมาผสมน้ำตามอัตราส่วนที่ผู้ผลิตกำหนด ผิวหน้าที่ได้จะเป็นผิวหน้าที่แข็ง ข้อดีคือราคาประหยัด ข้อเสียคือ ไม่มีความยืดหยุ่น
ประเภท 2 ส่วนผสม ประกอบไปด้วยผงซีเมนต์กันซึมและน้ำยา อัตราส่วนผงซีเมนต์ต่อน้ำยาขึ้นอยู่กับผู้ผลิตกำหนด ผิวหน้าที่ได้จะเป็นผิวหน้าที่มีความยืดหยุ่น
3. ประเภทสร้างผลึกในเนื้อคอนกรีต (Waterproofing by Crystallization) ระบบกันซึมประเภทนี้มีทั้งชนิดที่เป็นผงและน้ำยา โดยเมื่อสารเคมีเข้าไปในเนื้อคอนกรีตแล้วจะเกิดการสร้างผลึกในเนื้อคอนกรีต ผลึกที่เกิดขึ้นช่วยทำให้คอนกรีตมีลักษณะทึบมากขึ้นสามารถป้องกันการรั่วซึมอันเกิดจากรูพรุนในเนื้อคอนกรีตได้
4. ประเภทเมมเบรน (Waterproof Membrane) มี 2 แบบคือ
ของเหลว (Liquid Membrane) สามารถใช้ทาเพื่อสร้างฟีล์ม โดยความหนาที่ได้ขึ้นอยู่กับอัตราการทา สามารถสร้างฟีล์มหนาบางได้ตามความต้องการ มีสีให้เลือกตามความต้องการ
แผ่นยาง (Sheet Membrane) สามารถนำไปใช้ปูได้เลย มีทั้งแบบที่เป็นลักษณะกาวแปะ หรือเป็นแบบเป่าไฟให้เนื้อกาวละลายก่อนแปะ
เอาจริงๆ กันซึมก็จะมีถึง 7 ชนิดเลยทีเดียว จะไม่งงได้ยังไง เฮ้อ
กันซึม(จำแนกโดยวัสดุ) แบ่งออกได้ 2 ประเภท
-1.แบบเหลว(Liquid Apply)
อะคิลิค,โพลี่ยูรีเทน,คริสตัลไลน์เซซั่น,ซีเมนต์ยืดหยุ่นตัว,บิทูเมนต์ เป็นต้น
- ประเภทซีเมนต์ -ไม่เหมาะกับพื้นที่แห้งหรือถูกความร้อน เนื่องจากเนื้อของวัสดุนั้นเป็นการผสมกันระหว่าง ซีเมนต์, ทรายคัดเกรดและ โพลีเมอร์ โดยวัสดุกันซึมประเภทนี้ควรนำไปใช้กับพื้นที่ๆเป็นกระถางต้นไม้ ,สระว่ายน้ำ และถังน้ำเป็นต้น และยังสามารถแบ่งเป็นประเภท Flexible (ยืดหยุ่นตัว) และ Elastomeric (ยืดหยุ่นตัวสูง) โดยแต่ละแบบมี. ดีและจุดด้อยต่างกันอันเนื่องมาจากคุณสมบัติของโพลิเมอร์ที่ผสมโดยอาจทำให้ปูกระเบื้องไม่ติดหากต้องการตกแต่งผิว
- วัสดุกันซึมประเภทคริสตัลไลน์เซชั่น -พื้นที่ที่เหมาะกับวัสดุประเภทนี้คือบริเวณชั้นใต้ดิน เช่น ผนังกั้นดินและพื้นชั้นใต้ดิน โดยคุณสมบัติของระบบคริสตันไลน์เซชั่นนั้นจะอาศัยคุณสมบัติทางเคมีในการทำปฏิกิริยากับ free lime ในเนื้อคอนกรีต ทำให้เกิดการตกผลึกคริสตัลในเนื้อคอนกรีตอุดช่องว่างรูพรุน เมื่อเนื้อคอนกรีตมีความชื้นรั่วซึม แต่ไม่ควรใช้กับพื้นดาดฟ้าที่บริเวณใต้พื้นที่มีการตกแต่งภายใน เพราะว่าหากพื้นมีรอยแตกแล้วก่อนที่จะทำปฏิกิริยาเกิดเป็นผลึกได้นั้นต้องอาศัยระยะเวลาหนึ่งในการก่อตัวเป็นผลึกทึบน้ำอาจทำมห้มีน้ำรั่วลงสู่ชั้นล่างได้อย่างไรก็ดีพื้นที่ๆจะทำระบบกันซึมนั้นโดยเฉพาะชั้นดาดฟ้าควรมีการปรัย Slope 1:200 เพื่อการไหลฃองน้ำ
- วัสดุกันซึมประเภทอะคริลิค -พื้นที่ที่เหมาะกับวัสดุประเภทนี้ได้แก่ชั้นดาดฟ้าระเบียงพื้นต่างๆที่ไม่มีน้ำครั้งและหากเสริม Fiberglass ก็จะทำให้มีความหนาเพิ่มมากขึ้นนอกจากจะกันรั่วซึมได้แล้วยังสามารถลดความร้อนลงสู่พื้นชั้นล่างได้ในระดับหนึ่ง ข้อดีของวัสดุประเภทนี้คือใช้งานง่าย
- วัสดุกันซึมประเภท โพลี่ยูรีเทน -พื้นที่ๆเหมาะกับวัสดุ ประเภทนี้คือพื้นดาดฟ้าระเบียงที่ไม่มีน้ำท่วมขังตลอดเวลาโดยตัวคุณสมบัติของโพลี่ยูรีเทนจะทนความร้อนได้ดีและสามารถทาสีอะคริลิคหรือสีสะท้อนแสงทับได้ เพื่อสะท้อนรังสียูวี
-2. แบบแผ่น (Sheet Apply)
•ขั้นตอนการติดตั้งของชนิดมีกาวในตัวการทำงานจะลงน้ำยารองพื้นบนผิวคอนกรีตแล้วจึงปูทับลงไปเป็นแถวแล้วซ้อนทับเป็นแนวยาว
•ขั้นตอนการติดตั้งของชนิดมีกาวในตัวการทำงานจะลงน้ำยารองพื้นบนผิวคอนกรีตแล้วจึงปูทับลงไปเป็นแถวแล้วซ้อนทับเป็นแนวยาว
•ขั้นตอนการติดตั้งของชนิดไม่มีกาวในตัวการทำงานจะลงน้ำยารองพื้นบนผิวคอนกรีตแล้วจึงปูทับลงไปเป็นแถวแล้วซ้อนทับเป็นแนวยาวแล้วจึงเชื่อมด้วยไฟหรือความร้อน หากเป็นวัสดุประเภทบิทูมินัส ก็จะเป่าด้วยไฟ หากเป็น ประเภทอื้นๆก็เชื่อมด้วยความร้อนแตกต่างกันไปตามเนื้อวัสดุที่ผู้ผลิตนำมาใช้งาน
โดยสรุป สรุปแบบเดาๆ ประเภท ซีเมนต์เบส วัสดุก็จะมีซีเมนต์เป็นตัวหลัก จะมีกี่ส่วนผสมก็ตามแต่ผู้ผลิต/ ประเภทสร้างผลึก/ ประเภท เมมเบรน ก็จะมีสองแบบคือ เป็น ลิควิค (อะคริลิค/โพลี่ยูรีเทน) และแบบเป็นชีท