อยากเอ่ยถึงซักหน่อย Frozen Flower

เชยมากมายนะที่เพิ่งดูหนังเรื่องนี้ แต่จริงๆ เล็งว่าจะดูตั้งแต่มีข่าวว่าโจอึนซองจะแสดง แต่มีคุณพี่ท่านหนึ่ง (เป็นเกย์) บอกเราว่า เลิฟซีนแรงนะ ดูไหวเหรอ ...อ่านะ..หนังเกย์ เลิฟซีนแรง ..บอกตรงๆ ไม่กล้าดู จนวันนี้บังเอิญได้ดูผ่านฟรีทีวี ทางจานดาวเทียมแบบ อันเซ็นเซอร์ คือนะ...มันแบบ...เอาเป็นว่าเราไม่เอ่ยถึงละกันไอ้ฉากเลิฟซีนเนียะ

เปิดหาข้อมูลมา พบว่านี่เป็นเรื่องจริงของกษัตริย์คนหนึ่ง!! โอววมายก้อดดด สนมเยอะแยะ คิดอะไรอยู่ ตอนคิงพยายามจะมีอะไรกับควีน คิงท่านว่า "ทำไม่ได้"  โอววววววววว

ในเรื่องเนื้อหา เนื้อเรื่อง แน่นอนว่าทำได้ดีสไตล์เกาหลี อ้างอิงเรื่องจริง และแต่งเรื่องรักสามเส้า เข้าไปได้เนียนๆ รวมไปถึงบทพูด ตัวละคร การดำเนินเรื่อง ยังคงแฝงสาระ ที่ต้องการสื่อ (แม้จะไม่ค่อยรับรู้เท่าไหร่เพราะ ไอ้ฉากเลิฟซีนนี่แหละ)

บทวิจารณ์ตัดมาจาก http://starpics.co.th/board/index.php?topic=673.0





หนัง เกาหลีอีกเรื่องที่เจริญรอยตามความสำเร็จของ King and the crown แม้เปลือกนอกและรูปแบบการนำเสนอเหมือนจะไปในแนวเดียวกัน แต่หากวัดกันที่มาตรฐานงานสร้าง ชั้นเชิงการเล่าเรื่องและความราบรื่นลื่นไหลของอารมณ์ ในความคิดของผม King and the crown ก็ยังโดดเด่นและยอดเยี่ยมกว่าอย่างเห็นได้ชัด (โดยไม่ต้องอาศัยฉากอย่างว่ามาเป็นอีกแรงหนึ่งในการโปรโมต)




แต่หากมุ่งพิจารณาไปที่เนื้อหาของ Frozen Flower เป็นสำคัญ ก็ยังปรากฏสารัตถะที่น่าสนใจ ควรแก่การขบคิดและชวนให้ถกกันได้อยู่ไม่น้อย

พล็อต เรื่องว่าด้วยรักสามเส้าที่แสนจะโบราณเหมาะสมกับยุคสมัยตามท้องเรื่อง หนังเริ่มต้นอย่างไม่ซับซ้อนแต่กลับค่อยๆ ตึงเครียดขึ้นเป็นระยะ ก่อนที่จะระเบิดไคลแม็กซ์และลาโรงจบไปอย่างเรื่องโศกนาฏกรรมของเช็คสเปียร์




พระ ราชาแห่งราชวงศ์โครยอปกครองแผ่นดินภายใต้การเป็นอาณานิคมของราชวงศ์หยวนแห่ง มองโกล พระองค์มีพระมเหสีแต่ด้วยรสนิยมโปรดเพศเดียวกันจึงไม่อาจมีพระโอรสสืบราช บัลลังก์ได้ หลังถูกกดดันทางการเมืองจากเจ้าอาณานิคมครั้งแล้วครั้งเล่าเรื่องการให้ กำเนิดพระโอรส พระราชาทรงคิดหาทางออกด้วยการให้องครักษ์คนสนิทซึ่งพระองค์ไว้ใจที่สุดช่วย กระทำภารกิจนี้แทน เพราะบัญชาพระราชาทำให้ทั้งองค์รักษ์และพระมเหสีต้องตกอยู่ในภาวะฝืนใจทน ต่อมาความรู้สึกขัดแย้งจากปฏิสัมพันธ์ทางเรือนร่างของทั้งสองก็ค่อย ๆ พัฒนาการกลายเป็นความรัก ในขณะเดียวกัน ความไว้วางใจของพระราชาซึ่งถูกทรยศก็กลายสภาพเป็นไฟโทสะที่ไม่อาจควบคุม




ความ สัมพันธ์ของคนทั้งสามคลุมเครือไปด้วยแรงใคร่และความรัก ความไม่ชัดเจนของพฤติกรรมตัวละครนี้เองที่ก่อให้เกิดการตีความได้หลากหลาย ของผู้ชม ว่าระหว่างตัวละครคู่ไหนที่รักกันจริงหรือผูกพันกันแค่เรื่องกามารมณ์

คล้าย ว่าจะง่ายดายแก่การจำแนกแยกแยะ แต่บ่อยครั้งที่ทั้งสองอารมณ์นี้มักเกิดขึ้นพร้อมกัน ในสิ่งหนึ่งก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งผสมปะปนอยู่ เป็นหยินหยางระหว่างความรักและความใคร่ เหมือนหยินหยางระหว่างชายและหญิงในเพศสภาพที่เรียกว่าโฮโมเซ็กซ์ชวล




Frozen Flower นอกจากจะสะท้อนสภาพจิตและวิธีคิดของมนุษย์ หนังยังอธิบายเปรียบเทียบให้เห็นธรรมชาติในทางการเมืองหรือสังคม หนังวางคู่ความสัมพันธ์ได้น่าสนใจระหว่างผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า (ฝ่าย active) และผู้อยู่ใต้อำนาจปกครอง (ฝ่าย passive) เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างพระราชาซึ่งเป็นเจ้าปกครองแผ่นดินกับองค์รักษ์ (อาจตีความได้ถึงบทบาทในความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างผู้คุมเกมและผู้ยอมตาม ท่าทีในฉากประดาบซึ่งพระราชามีความสามารถเหนือกว่า หรือแม้แต่ฉากภาพเขียนที่พระราชาวาดฝันให้ตัวเองดำรงฐานะเป็นผู้นำอยู่เสมอ) บทบาทระหว่างชาย-หญิงในลีลาการร่วมรักระหว่างองค์รักษ์และมเหสี (ซึ่งมีฝ่ายชายเป็นผู้นำ) ความสัมพันธ์ในลักษณะของศัตรูคู่อริระหว่างองค์รักษ์ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วย ทหารกับรองหัวหน้าจอมเจ้าเล่ห์ที่จ้องจะเป็นใหญ่อยู่ตลอดเวลา (รองหัวหน้าแสดงอาการไม่พอใจเสมอเมื่อต้องอยู่ในฐานะที่ต่ำต้อยกว่าหัวหน้า) หรือแม้แต่การที่ราชวงศ์โครยอจำต้องตกเป็นเบี้ยล่าง เป็นข้าอาณานิคมของราชวงศ์หยวนอันยิ่งใหญ่




ความ สัมพันธ์แต่ละคู่แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่ต่างกัน แต่กลับสะท้อนธรรมชาติประการหนึ่งที่เหมือนกัน นั่นคือไม่มีใครต้องการถูกกดขี่ ไม่มีใครต้องการตกเป็นเบี้ยล่าง ทั้งในเชิงกายภาพและในจิตใจ ทุกคนล้วนต้องการอิสรภาพและกระหายที่จะลุกขึ้นมาเป็นนายตัวเอง ในระดับมนุษย์ปุถุชนย่อมปรารถนาสิทธิเสรีภาพในทางเลือก ในระดับของสังคมการเมืองระหว่างประเทศทุกชนชาติย่อมปรารถนาที่จะมีเอกราชและ อำนาจอธิปไตยของตนเอง




ความปรารถนาของแต่ละตัวละครถูกสะท้อนผ่านภาพนกในกรงของพระราชา

พระราชาติดอยู่ในกรอบกรงแห่งโบราณราชประเพณีและตกอยู่ภายใต้การครอบงำจากชาติมหาอำนาจ

องครักษ์ติดอยู่ในกรอบกรงแห่งหน้าที่จนกระทั่งแยกแยะไม่ออกระหว่างสิ่งที่ต้องทำและสิ่งที่ต้องการ



พระ มเหสีซึ่งผมเปรียบนางเป็นเหมือนบุหงารมควัน แม้จะคงกลิ่นหอมอยู่ได้ยาวนานแต่ก็เป็นเพียงดอกไม้ที่แห้งเฉา ไม่เคยได้สัมผัสความชุ่มชื่นแห่งรสรักอย่างที่ผู้หญิงผู้ครองเรือนควรจะได้ รับจากสามี

Frozen Flower ใช้ตัวละครของพระราชาในมิติที่หลากหลาย ในแง่หนึ่งเขาคือชายหนุ่มที่ต้องการจะครองใจองครักษ์ผู้เป็นที่รักแต่ก็ต้อง ผิดหวังด้วยคำพูดเสียดแทงในฉากจบ ในอีกแง่หนึ่งพระราชาเป็นตัวแทนความเป็น “ชาตินิยม” พระองค์คาดหวังความจงรักภักดีจากเหล่าข้าราชสำนักแต่กลับต้องผิดหวังเพราะ ยังปรากฏคนคิดกบฏและฉ้อราษฎร์บังหลวง พระองค์ระเบิดแรงโทสะใส่ด้วยการสั่งประหารขุนนางเหล่านั้นเสียสิ้น




เรา อาจครองกลิ่นหอมหวนของบุหงาได้แสนนาน หรือครอบครองอิสรภาพของสิ่งมีชีวิตใดๆ ได้แม้กระทั่งมนุษย์ตราบตลอดอายุขัย (เห็นได้ชัดในฉากแรกที่ทหารหนุ่มลักลอบหนีออกจากวังกับนางสนมแต่ก็ไม่ สำเร็จ) ทว่าเรื่องของหัวใจกลับเป็นข้อยกเว้น เราห้ามความรักไม่ได้ฉันใด เราก็คงบังคับให้รักไม่ได้ฉันนั้น สะท้อนให้เห็นว่าธรรมชาติของความรักนั้นอยู่เหนือการครอบครองและควบคุม (ทั้งการบังคับให้รักตัวเราและการบังคับให้รักชาติรักแผ่นดิน)




ฉาก ควบม้าอันเป็นภาพฝันในตอนจบสื่อถึงอิสรภาพที่งดงามระหว่างพระราชาและ องครักษ์ เป็นภาพอุดมคติที่พระราชาได้ทำอย่างที่ใจนึกฝันและองค์รักษ์ก็ได้ แสดงออกอย่างเป็นตัวเอง ผมเชื่อว่านี่ไม่ใช่เพียงแค่ภาพฝันของคนสองคน แต่เป็นภาพฝันของสังคมโลก สังคมของมนุษยชาติที่เราจะอยู่ร่วมกันฉันท์มิตร ไม่ใช่ในฐานะที่ใครเหนือหรือต่ำกว่าใคร

...แค่ในฐานะของมิตรแท้ที่เท่าเทียม...


วิพากษ์วิจารณ์ได้ถูกใจเราจริงๆ โดยเฉพาะในย่อหน้าแรก เพราะหลังจากที่ดูจบ ก็รู้สึกว่า มันจำเป็นมั้ยกับฉากเลิฟซีน เร่าร้อน ขนาดนั้น (และบอกตรงๆ ว่านางเอกคนนี้ เราคิดไม่ถึงจริงๆว่า เธอจะยอมแสดงขนาดนั้น!!) แม้จะมีการวิเคราะห์วิจารณ์กันบ้างในส่วนของเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก ว่าแท้จริง นั้นคือรัก หรือ ใคร่ ซึ่งอาจจะต้องสังเกตกันในฉากเลิฟซีน แต่เราว่ามันก็ เยอะไปจริงๆ นะ^^


มีคำวิจารณ์น่าสนใจในอีกมุมหนึ่ง ตัดมาจากข้อคิดเห็น ในเวป http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=beerled&month=20-04-2009&group=1&gblog=40

ประเด็นหนึ่งจากหนังเรื่องนี้ ที่มีการอภิปรายมากที่สุดคือ "Love- not only lust after sex" กรณีองครักษ์ กับ มเหสี เป็นไปได้หรือ?
ในมุมมองเอาเฉพาะตามบริบทในหนัง..ไม่ได้หมายความว่าเกิดได้ทั่วไป..เป็นไปได้คะ ด้วยเหตุผลดังนี้

1. ทั้งคู่ต่างถูกกดให้อยู่ในอาณัติของพระราชามากว่า 10 ปีทำให้ต่างมีความเห็นอกเห็นใจ
..ฝ่าย องครักษ์แม้แสดงออกซึ่่งความผูกพันลึกซึ้งกับพระราชา แต่บทบาทที่ได้รับเป็นหัวหน้าองครักษ์ชายอีก 36 คน ขัดแย้งกับบทบาทเมื่อต้องมาปรนนิบัติราชา...ซึ่งวิถีความสัมพันธ์ชายกับชาย ของเขานั้นไม่ได้เริ่มด้วยความต้องการของเขาเอง..หากเป็นเพราะความคลุกคลี กันตั้งแต่เด็กและความภักดีในเบื้องแรก..

ฝ่ายมเหสี โดนจับแต่งงานตามกุศโลบายการเมือง อาจด้วยมเหสีมีอำนาจต่อรองการเมืองเหนือพระราชา
(เห็น ได้จากฉากราชทูต มเหสีนั่งบัลลังก์ในขณะที่กษัตริย์ลงไปคำนับรับสาส์น) ราชาจึงบริหารอำนาจเหนือเธอด้วยการแสดงความห่างเหินเกินจำเป็น..ตอนที่มเหสี พูดกับองครักษ์ว่า "ได้ทำในสิ่งที่ฉันควรทำ" มีความหมายมากไปกว่าการร่วมเตียง แต่รวมถึง "pillow talk" ด้วย..ขณะเดียวกัน

ทั้งสองต่างจำใจ "ทำตามหน้าที่" ในการสร้างรัชทายาท..องครักษ์ทำตามคำสั่งนายเหนือหัว..มเหสีทำเพราะขัติยะ มานะบวกกับต้องการเอาชนะใจพระราชา...ไม่ได้มาจากความอยากสนุกคะนองของทั้ง คู่ - จึงแตกต่างจากกรณี One-stand night- สิ่งที่เกิดได้ ในขณะที่ one stand night ไม่เกิด คือ " Empathy"- ความเห็นอกเห็นใจ..เหมือนกับที่เกิดในทหารผู้จับศึกร่วมกัน

ตอนที่ มเหสียื่น ขนมสัญลักษณ์ความรัก ให้องครักษ์ แล้วบอกว่า " ฉันหวังจะได้ทำเช่นนี้ เช่นเดียวกับหญิงอื่นๆ" แล้วองรักษ์มีน้ำตานั้น อาจเป็นคำพูดสะกิดความรู้สึกภายในองครักษ์เองว่าเขาก็หวังจะทำหน้าที่ผู้นำ ครอบครัวเช่นเดียวกับชายอื่นๆ เช่นกัน

2. บุคลิกภาพของตัวละครเอง..องครักษ์ เป็นผู้ชายแบบที่มีความเป็นหญิงในตัว (แต่ไม่ใช่เกย์) คือ อ่อนโยน มีความเพ้อฝันถึงรักในอุดมคติ ดังนั้นเขาจึงคะนึงหาแต่มเหสี หากว่าเป็นการติดใจรสชาดแปลกใหม่ องครักษ์ไม่จำเป็นต้องเสี่ยง เข้าหามเหสีเท่านั้น..ฉากตอนองครักษ์เดินเล่นในตลาด หนังตั้งใจฉายให้เห็นหญิงงามเมืองยืนเชื้อเชิญและเพื่อนองครักษ์แสดงท่าทาง สนใจ แต่องครักษ์ก็ไม่ได้ชายตามองแม้แต่น้อย..
ฝ่ายมเหสี เป็นคนแข็งนอกแต่อ่อนใน..ภายนอกต้องพยายามเก็บอารมณ์เพื่อดูทรงอำนาจ แต่ภายใน โหยหาที่พึ่งเป็นอย่างมาก (การแต่งหน้า และแต่งตัว จะเห็นสองบุคลิกชัดเจน) จึงไม่แปลก ที่เธอจะตกหลุมรักองครักษ์หนุ่ม ที่แสดงความกล้าหาญปกป้องเธอได้ เมื่ออคติความคิดว่าเพราะเขาทำให้ราชาหมางเมินเธอในตอนแรกหมดไป...

หนัง เรื่องนี้มีการปูรายละเอียดตัวละครเยอะมาก แม้แต่ฉาก love scene ที่มีคนว่าเยอะไปหน่อย จริงๆ หากมองตีความในแง่สื่อให้เดาความคิดภายในใจ จากการแสดงออก ก็จะเห็นศิลปะในอีกแง่มุมหนึ่งคะ

โดย: คนเพิ่งได้ดู IP: 169.230.100.46 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2553 เวลา:4:07:29 น. 



ขอพูดอีกซักนิด มีผู้ชมบางท่านแสดงความเห็นในเวปพันธ์ุทิพย์ว่า ในตอนสุดท้ายนั้น ฮองริมเพิ่งรู้ตัวว่ารัก คิงจากการหันหน้ามามองเขา ในความคิดเรา เหมือนฮองริม อยากจะถามมากกว่าว่า ทำไมท่านถึงทำแบบนี้ หลอกให้เข้าวังมาเพื่อ???ให้เรื่องจบแบบนี้???
(คิงหลอกว่าได้สังหารควีนไปแล้ว ซึ่งทำให้ฮองริมโกรธแค้น บุกเข้าวังเพื่อเอาชีวิตคิง ในขณะที่คิงยังคงมีความหวังเล็กๆ ว่าเขาจะกลับมา (เดาๆนะ) แต่สุดท้ายเรื่องราวก็จบแบบเศร้าตามแบบฉบับของเกาหลีเขาจริงๆ  -"-)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น